อากาศร้อน อย่าชะล่าใจ Heat Stroke อันตรายถึงชีวิต
เนื่องจากปีนี้ ประเทศไทยเราอากาศร้อนมาก สูงถึง 42-43 องศาเซลเซียส ขนาดเราตอนกลางวันแทบจะอยู่ในบ้านกับพัดลมไม่ไหว เพราะฉนั้นอย่าชะล่าใจ กับอากาศที่ร้อนมากๆของบ้านเรานะครับ ใครเลี้ยงกระต่ายอยู่ ควรหาวิธีรับมือและคอยสังเกตุอาการให้ดีๆ ก่อนจะสายเกินไป เพราะกระต่ายขึ้นชื่อว่าเป็นยอดฮิตของโรค Heat Stroke แซงหน้าสัตว์พันธุ์อื่นๆหลายพันธุ์กันเลยทีเดียว เป็นหนึ่งในโรคที่ค่อนข้างจะอันตรายมาก และ อาการสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน จนหลายๆคนไม่ทันจะได้ตั้งตัว ก็ไม่สามารถที่จะรักษาเด็กๆของท่านได้ทันการแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำก็คือการป้องกันและการศึกษาอาการของโรคนี้ไว้ก่อน วันนี้เราฟาร์ม RGB อยากจะมาแนะนำ วิธีการสังเกตอาการ, การป้องกัน และการรักษาเบื้องต้น ให้ทุกท่านทราบกันครับ
รู้ได้อย่างไรว่าน้องกระต่ายเริ่มเป็นโรค Heat Stroke แล้ว
- ซึม ไม่ยอมกินอาหาร ส่วนใหญ่ถ้ากระต่ายผิดปกติ จะแสดงอาการนี้ก่อน
- มีอาการหายใจเร็วผิดปกติ หอบ และดูหายใจลำบาก และเสียงดัง
- ตัวร้อนผิดปกติ ตัวการวัดอุณหภูมิผ่านปรอท ปกติแล้วอุณหภูมิจะต้องอยู่ที่ 38 – 40 ถ้าเกินกว่านี้แสดงว่าเริ่มผิดปกติ
- จมูกเปียก น้ำลายไหลเลอะคาง
- เหงือกซีด
- ขาอ่อนแรง เดินแล้วทรงตัวไม่อยู่ หากเป็นถึงขั้นนี้แสดงว่าอาการค่อนข้างแย่แล้ว ควรรีบประถมพยาบาลเบื้องต้น แล้วพาไปพบแพทย์โดยด่วน
- นอนนิ่งๆ ช็อค ตัวเกร็ง เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว โอกาศรอดค่อนข้างต่ำมาก เพราะเป็นระยะสุดท้ายของโรค ดังนั้นทางที่ดีควรรีบป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้ลูกๆของคุณต้องมาถึงระยะนี้ดีกว่าครับ
การป้องกันกระต่ายไม่ให้เกิด Heat Stroke เป็นขั้นตอนที่ดีที่สุดที่จะทำให้กระต่ายนั้นปลอดภัย
- เริ่มต้นง่ายๆด้วยการหาสถานที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแสงแดดส่อง
- ใช้พัดลมช่วยด้วยจะดีมากๆ แนะนำให้เปิดส่ายไปมา อย่าเปิดจอไปที่ตัวกระต่ายโดยตรง
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ปล่อยไปวิ่งเล่น
- ใช้ขวดบรรจุน้ำแล้วนำไปแช่แข็ง แล้วนำผ้าห่อรอบขวดก่อนนำไปให้ลูกๆคุณ เปรียบเหมือนแอร์ของเขาเลยทีเดียว ระวังเรื่องความชื้นกันด้วยนะครับ
การรักษาเบื้องต้น
- ใช้น้ำที่เย็นกว่าอุณหภูมิปกติเล็กน้อยเช็ดที่บริเวณ ใบหู ขาหนีบ และลำคอ เพื่อลดอุณหภูมิของเขา ห้ามใช้น้ำเย็นจัดนะครับ เพราะจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลันและช็อคได้ครับ
- ห่อตัวของเขาด้วย ผ้าขนหนูที่เปียกหมาดๆ เพื่อระบายความร้อน
- ค่อยๆป้อนน้ำที่อุณหภูมิเย็นกว่าปกติเล็กน้อยให้กับเขา
- หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์นะครับ อย่าปล่อยไว้นาน เพราะโรคนี้บางตัวเป็นแค่แปปเดียวก็เสียชีวิตแล้ว
อย่าลืม กดถูกใจ ติดตามเราที่ Facebook Fanpage
Add comment